การจัดแท่นบูชาพระเทวีไอซิส และเทพอียิปต์ไม่ว่าองค์ใดก็ตาม
ถ้าบูชาเทวรูปเพียงองค์เดียว
ในสมัยโบราณนิยมประดิษฐานในเทวาลัยขนาดเล็ก ลักษณะเหมือนตู้ แบบที่เรียกกันว่า นาออส
(Naos)
แต่เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีจำหน่ายทั่วไปในปัจจุบัน
การจัดแท่นบูชาจึงสามารถปรับเปลี่ยนได้ ดัวยหลักการที่คล้ายคลึงกับการบูชาเทพเจ้าในลัทธิศาสนาอื่นครับ
คือ
ตั้งแท่นบูชาให้ชิดผนังด้านใดด้านหนึ่งของห้อง และหันหน้าแท่นไปทางทิศตะวันออก
จะเฉียงเหนือหรือ้ฉียงใต้ก็ได้ ตามลักษณะบ้าน ถ้าเป็นจุดที่ได้รับแสงอาทิตย์ตอนเช้าได้ทุกวันยิ่งดี
แท่นบูชานี้จะอยู่ในห้องนอนก็ได้
แม้ผู้บูชาเป็นหญิงก็ไม่เป็นไรหรอกครับ แต่ต้องไม่หันเข้าหาเตียงนอน
และห้ามเป็นอันขาด มิให้หันไปหาห้องน้ำ บันได
บริเวณที่เป็นกระจกเงา หรือสิ่งที่สะท้อนแสง ถังขยะ ราวต่ากผ้า
ถ้าเอาไว้ในห้องพระ ก็อย่าให้ปะปนกับพระพุทธรูปและเทวรูปในศาสนาอื่น
คลุมแท่นด้วยผ้าลินิน สีน้ำตาล หรือสี Maroon
ห้ามใช้สีแดง
ประดิษฐานเทวรูปไว้กลางแท่น ด้านที่ติดกับผนัง
วางแจกันสองข้างของเทวรูป
ด้านหน้าเทวรูปวางตะเกียงน้ำมัน
หรือเชิงเทียนทรงเตี้ย 1 คู่ เชิงกำยาน 1 ชุด เตาต้มน้ำมันหอมระเหย 1 ชุด
และควรมีโต๊ะอีกตัวหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่า สำหรับวางถาดใส่เครื่องสังเวยด้วย
กำยานที่ใช้ในการบูชา ควรทำจากส่วนผสมที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ใช่ใส่น้ำหอมสังเคราะห์แบบกำยานที่มีขายกันทั่วไป และห้ามใช้กำยานแขกนะครับ
กำยานที่ใช้ในการบูชา ควรทำจากส่วนผสมที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ใช่ใส่น้ำหอมสังเคราะห์แบบกำยานที่มีขายกันทั่วไป และห้ามใช้กำยานแขกนะครับ
น้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในการบูชา คือ น้ำมันหอมระเหยกลิ่นกุหลาบ หรือมะลิ ซึ่งต้องเป็นของแท้
(Pure Essential Oil) ที่ใช้ในสุคนธบำบัด (Aromatherapy)
หรือเพื่อความสะดวก ในการใช้บูชาเทพ-เทวีอียิปต์องค์อื่นด้วยในอนาคต ก็ควรใช้น้ำมันหอมระเหยสูตร Egypt Blend ของ Mystica ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวในประเทศไทย
อีกอย่างหนึ่งที่ต้องมี ขาดไม่ได้ คือ น้ำกุหลาบ (Rose Water หรือ Rose Hydrosol) คือน้ำที่ได้จากการสกัดดอกกุหลาบ ในการทำน้ำมันหอมระเหย และจำเป็นต้องใช้ของแท้เช่นกัน
ทั้งกำยานสมุนไพร น้ำมันหอมระเหย และน้ำกุหลาบ สามารถติดต่อหาซื้อได้จาก Line ID : mystica4u
ส่วนดอกไม้ที่ใช้บูชา คือ ดอกกุหลาบสีแดง
ดอกบัว หรือดอกมะลิ
ถ้าถวายดอกบัว จะใช้บัวหลวงแบบของไทยเรา
ที่หาได้ตามตลาดที่ขายดอกไม้สดทั่วไป หรือจะเป็นบัวขาบ
เพื่อให้เหมือนกับของอียิปต์ก็ได้ ถวายในแจกันสองข้างเทวรูป
เชิงกำยาน กับ เตาต้มน้ำมันหอมระเหย
โดยปกติวางไว้หน้าสุดของแท่นบูชา ระหว่างตะเกียงน้ำมัน เวลาจะถวายของไหว้
จึงค่อยยกออกมาใส่รวมไว้ในถาดใส่เครื่องสังเวย
ถ้าองค์เทวรูปไม่สูงกว่าเตาต้มน้ำมันหอมระเหยมากนัก
จะต้องหาแท่น หรือ ตั่ง เล็กๆ มาหนุนเทวรูปขึ้นอีก
หรือถ้าประดิษฐานเทวรูป 3 องค์ ก็จะต้องหาแท่นมาหนุนองค์ที่ใหญ่ที่สุด ให้สูงกว่าอีก 2 องค์ คือให้เป็นองค์ประธาน อยู่ระหว่างแจกันดอกไม้ดังกล่าวแล้ว
อีกสององค์วางเยื้องออกมาหน่อยหนึ่ง
มองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมแบนๆ อย่าวางไว้แถวเดียวกัน แบบหน้ากระดานเรียงหนนึ่ง
แม้จะมีที่พอให้วางได้ก็ตาม
(หมายเหตุ :
ถ้าบูชาพระเทวีไอซิสองค์เดียว ไม่ควรมีเทวรูปเกินกว่า 3 องค์
โดยนอกจากองค์ประธานแล้ว อีกสององค์ควรมีขนาดสูงเท่ากัน)
ควรจัดถ้วยน้ำที่ทำด้วยดินเผา หรือโลหะ
(แล้วแต่เครื่องบูชาอื่นบนแท่นจะทำด้วยวัสดุอะไร) ไว้ประจำเทวรูป
และคอยเปลี่ยนทุกวัน
ควรถวายประติมากรรมรูป แมวบาสเต็ต (Bastet)
หรือ เหยี่ยวโฮรุส (Horus) คู่หนึ่ง
ไว้ประกอบแท่นบูชา โดยตั้งขนาบสองข้างเทวรูปองค์ประธาน เยื้องมาทางด้านหน้า (ไม่จำเป็นต้องปลุกเสก)
วิธีบูชา มีดังต่อไปนี้ครับ :
1. ก่อนออกจากบ้าน และก่อนนอนทุกวัน เผากำยาน
1 ดอก ถวายน้ำกุหลาบ ด้วยการปะพรมเทวรูป กล่าวบูชาด้วยคาถานี้
อะเน็ด(ช) (ฮ)รา-เอ็ก, อาเซ็ต.
2. การบวงสรวงสังเวย ควรทำในเช้าวันอาทิตย์
อาบน้ำเสียก่อน แต่งตัวตามสบาย แล้วจัดของสังเวยใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
ของสังเวยประกอบด้วย
-ขนมปังธัญญพืช (ตา :Ta) ที่ทำเป็นก้อนกลมๆ 3 ลูก
-อาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ (เนเชม
: Neshem ถ้าเป็นเนื้อไก่ เรียกว่า อะเพ็ด : Aped) 1 อย่าง
-ผักสด (เซมู : Semu) หรืออาหารที่ปรุงด้วยผัก
1 อย่าง
-ผลไม้รสหวาน ในอัตราเดียวกับขนมปัง
-ขนมหวาน
จัดถวายตามปริมาณที่คนคนเดียวรับประทาน
-ถ้วยใส่เหล้าไวน์ (อิเร็ป :Irep)
1 ถ้วย งดได้ถ้าผู้บูชาไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
-ถ้วยน้ำนมสด (เฮซา : Hesa) หรือนมเปรี้ยว 1 ถ้วย
-ถ้วยน้ำ (มู : Mu) 1 ถ้วย
-ดอกกุหลาบแดง ดอกบัว หรือดอกมะลิ
หรือทั้งสามอย่าง (เรียกรวมๆ ว่า โฮเตปิ : Hotepi)
-เชิงกำยาน (เซเนเตร์ :Seneter)
-เตาต้มน้ำมันหอมระเหย (เมร์เค็ต : Merkhet)
ทั้งหมดนี้นอกจากดอกไม้ จัดรวมกันในถาด (โฮเต็ป
: Hotep)
เพียงถาดเดียว
3. จัดดอกกุหลาบ หรือดอกบัวใส่แจกัน วางถาดของสังเวยไว้บนโต๊ะเล็กๆ
หน้าแท่นบูชา
4. ต้มน้ำมันหอมระเหย
รอจนน้ำในเตาร้อนได้ที่ ค่อยหยดน้ำมันหอมระเหยลงไป 4-5 หยด
แล้วจุดตะเกียงน้ำมัน หรือจุดเทียน เผากำยาน
ปะพรมเทวรูปด้วยน้ำกุหลาบ
5. นั่งคุกเข่าข้างซ้าย ชันเข่าข้างขวาขึ้น
หลังตรง ผู้หญิงสามารถนั่งคุกเข่าแบบในภาพ หรือนั่งบนฝ่าเท้าแบบญี่ปุ่นได้
ยกสองมือตั้งขึ้นด้านหน้าเสมอกัน
ประมาณให้ปลายนิ้วอยู่ระดับริมฝีปาก หันฝ่ามือไปทางเทวรูป ว่าคาถานี้
เฮริ อาเซ็ต, อะเน็ด(ช) (ฮ)รา-เต็น.
6. ประสานมือไขว้กันบนหน้าอก
ค้อมศีรษะลงเล็กน้อย
แล้วใช้มือทั้งสองยกภาชนะใส่เครื่องสังเวยขึ้นเบื้องหน้าแท่นบูชา
ว่าคาถาถวายเครื่องสังเวย ดังนี้
อันนา เอ็ม ตวี อุน ราเอ็ฟ เอ็ม อาเซ็ต,
อิยู วาบู ดิ อิเร็ป, เซเนเต(ร), เม (ร)เค็ต, ตา,โฮเตปิ, เซมู,
เนเชม, เฮซา, มู.
เค็ต เนเบ็ต เนเฟเร็ต วาเบ็ต อังเค็ต เนเต(ร)
เอ็ม.
หมายเหตุ : ถ้าอาหารที่ถวายทำด้วยเนื้อไก่
เปลี่ยน เนเชม เป็น อะเพ็ด
ถ้ามิได้ถวายไวน์ ไม่ต้องพูดคำว่า อิเร็ป
เมื่อว่าคาถาแล้ว
ปะพรมเครื่องสังเวยในถาดทั้งหมด ด้วยน้ำบริสุทธิ์
7. กล่าวบทสรรเสริญพระเทวีไอซิส
อาเซ็ต เนบูอุต, อะเมนิต, เมนเฮ็ต,
เรนเป็ต เซ็ปเป็ต, เฮเต็ต,
ฮู(ร)ต เธเนเน็ต, อัน(ท), เซเชตา เฮเค็ต,
วัดจิต เม(ร)เซเค็น, เร็นเป็ต เน็บ(ต) เต็บ(ต),
(ต)ฮัต เตเชตุต, (ต)เฮ็ต เชตัต.
6. อธิษฐานตามแต่ปรารถนา
หรือขอให้ทรงปกป้องเรา ด้วยคาถานี้
เซเนฟ เอ็น อาเซ็ต, เฮเคา เอ็น อาเซ็ต,
คุต เอ็น อาเซ็ต, อุต อาติ ซา เอ(ร) เบตาวีปู,
เฮ็ด(ช) เซ็น เน็ต เบตูอา, (ด)เจ็ด อินนี อาเซ็ต,
อิยา อุนนา เอ็ม ซาว-เอ็ก.
7. รอจนกำยานหมด กล่าวคาถาตามที่ระบุในข้อ 1 อีกครั้ง
แล้วยกถาดเครื่องสังเวยขึ้นเสมอหน้าผาก ว่าคาถานี้
เอ็น คา เอนี(ย) อาเซ็ต.
แล้ววางลงบนโต๊ะอย่างเดิม เป็นอันเสร็จพิธี
ดับตะเกียงน้ำมัน
ดับเทียนในเตาต้มน้ำมันหอมระเหย
ลาเครื่องสังเวยไปแบ่งใส่ภาชนะอื่น สำหรับรับประทานในบ้านต่อไป
การออกเสียงมนต์คาถาดังที่ได้ลำดับมา ออกเสียงพยัญชนะในวงเล็บให้เบากว่าปกตินะครับ
ถ้ามีโอกาสได้ฟัง
และหัดเลียนสำเนียงภาษาของชาวเอธิโอเปีย
จะได้สำเนียงที่ใกล้เคียงกับยุคอียิปต์โบราณ
และมนต์คาถาทั้งหมดนี้
ใช้ได้ผลเฉพาะเทวรูปลอยองค์ ขนาดบูชา ที่เทวาภิเษกถูกต้องเท่านั้น
ไม่ได้ผลกับเทวรูปเปล่าๆ ที่ซื้อมาจากร้านค้า
หรือเทวรูปที่ผ่านพิธีกรรมในลัทธิศาสนาอื่น
อีกทั้งไม่ได้ผลกับรูปภาพใดๆ ทั้งสิ้น
ครับ, ที่บรรยายมาทั้งหมดนี้
ก็เป็นเพียงพิธีกรรมระดับพื้นฐาน
ที่ผู้บูชาทั่วใปพึงจัดตามฐานะเท่านั้นนะครับ
พิธีกรรมเต็มรูปแบบ
อย่างที่ทำกันในเทวสถานจริงๆ มีมากถึง 43 ขั้นตอน
ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของนักบวช ใม่จำเป็นสำหรับปุถุชนคนธรรมดา
เพราะองค์เทพย่อมตอบสนองผู้บูชาตามควรแก่ฐานะ
นักบวชอียิปต์โบราณนั้น มีภาระรับผิดชอบมาก
ต้องบำเพ็ญตนเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง จึงมีพิธีกรรมที่ซับซ้อนเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ
มิใช่ประโยชน์ส่วนตน
ส่วนปุถุชนทั่วๆ ไป เมื่อบูชาเทพเจ้า
ย่อมหวังประโยชน์เพียงเฉพาะตน และบุคคลที่ตนรัก มีขอบเขตที่แคบกว่า
จึงไม่จำเป็นหรอกครับ
ที่จะต้องประกอบพิธีกรรมอันประณีต ให้เกินวิสัยฆราวาสแต่อย่างใด
ทีนี้ มีอีกเรื่องหนึ่งที่ผมว่า
ควรทำความเข้าใจเช่นกัน
คือ เมื่อพูดถึงการบูชาเทพเจ้าอียิปต์
คนส่วนมากมักนึกถึงอาถรรพณ์ โดยเฉพาะการสาปแช่งอย่างรุนแรง ถ้าหากว่าล่วงละเมิด
หรือเผลอทำสิ่งที่ผิด
แล้วก็เลยกลัวกันแบบฝังหัวน่ะครับ
ซึ่งก็เป็นความจริงที่ว่า สิ่งนี้ยังคงเกิดขึ้นเสมอแม้ในยุคปัจจุบันนี้
อาถรรพณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ละเมิดเทพไอยคุปต์
หรือบูชาอย่างผิดวิธีนั้น รุนแรงมากจริงๆ ครับ
จนทำให้เรื่องเกี่ยวกับคำสาปของฟาโรห์ตุตันคาเมน กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปทีเดียว
แต่...อะไรที่เรียกว่า เป็นการละเมิดองค์เทพ?
และอะไรที่เรียกว่า เป็นการบูชาที่ผิด?
ตอบคำถามแรกก่อนนะครับ
การละเมิดองค์เทพ
ก็คือ การคิดว่าองค์เทพเป็นเพียงผู้รับใช้
หรือดลบันดาลให้เราได้ในสิ่งที่เราต้องการ
คือ คิดว่าเมื่อเรารับองค์เทพมาบูชา
องค์เทพก็มีหน้าที่จะต้องตอบแทนเราให้สมควรแก่ความปรารถนาของเรา
คิดอย่างนี้ เท่ากับเป็นการดูหมิ่นว่า
พระองค์เป็นเหมือนพวกภูตผีปีศาจ เอามาเลี้ยงแล้วก็ต้องตอบแทน
อย่างไรก็อย่างนั้นละครับ
อีกอย่างหนึ่ง คือการอวดอ้างว่าตัวเรามีคุณวิเศษ
ถึงกับมีอำนาจบังคับองค์เทพให้ตอบสนอง หรือทำในสิ่งที่เราต้องการได้ทุกอย่าง
ไม่ว่ากระทำต่อเราเอง หรือต่อใครๆ ตามความต้องการของเรา
แม้แต่การพูดแทนองค์เทพว่า
ใครทำให้เราไม่พอใจอย่างใดแล้ว องค์เทพที่เราบูชาอยู่ จะลงโทษเขาอย่างนั้นอย่างนี้
เป็นต้น
การอ้างพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์เทพ
เอาไปหาผลประโยชน์ส่วนตนต่างๆ ก็เช่นกันครับ
รวมถึงการหลอกลวงผู้อื่น
เผยแพร่เรื่องราวขององค์เทพด้วยการบิดเบือน ตามความพอใจของตนเอง
เพื่อประโยชน์ในด้านใดก็แล้วแต่
ไม่ว่าจะโดยสาระสำคัญ หรือเรื่องปลีกย่อย
อย่างที่มีผู้กระทำอยู่เป็นอันมากในเวลานี้ ก็ถือเป็นการละเมิดองค์เทพด้วย
และความวิบัติหายนะ
มักเกิดแก่ผู้บูชาเทพอียิปต์ เพราะเหตุนี้ละครับ
ส่วน การบูชาผิดวิธี
ก็คือ บูชาด้วยความเชื่อมั่นว่า
จะทำให้เราเกิดพลังวิเศษ มีอิทธิฤทธิ์ มีอำนาจเหนือคนทั่วไป
จนสามารถนำพลังอำนาจเหล่านั้นไปใช้เปลี่ยนแปลงบุคคล และเหตุการณ์ต่างๆ ตามความประสงค์
จนสามารถนำพลังอำนาจเหล่านั้นไปใช้เปลี่ยนแปลงบุคคล และเหตุการณ์ต่างๆ ตามความประสงค์
หรือไม่ก็บูชาด้วยความคาดหวังว่า
องค์เทพจะตอบสนองความต้องการในทางกิเลสตัณหา และอบายมุขชนิดต่างๆ ได้
หรือไม่อีกที ก็เป็นการบูชาประเภทนึกเอาเอง
เดาเอาเองน่ะครับ
ไม่สนใจว่า หลักปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
และไม่ขวนขวายที่จะรู้ด้วย
เอาแต่ความสะดวก หรือความง่ายเป็นพอ
แล้วก็อ้างว่าบูชาด้วยใจ เป็นต้น
เหล่านี้แหละครับ
ล้วนแต่เป็นตัวอย่างของการบูชาที่ผิด เป็นเครื่องขวางกั้นหนทางที่จะเข้าถึงองค์เทพ
และบ่อยครั้งนำความวิบัติหายนะมาให้อย่างคาดไม่ถึง
เพราะฉะนั้น
การบูชาเทพอียิปต์จึงไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่นำความสนุกมาให้ชั่วครั้งชั่วคราว
พอเบื่อก็ทิ้งได้ หรือเป็นแค่สิ่งที่แปลกใหม่ น่าทดลองสำหรับนักผจญภัย
การบูชาเทพอียิปต์
หรือแม้แต่เทพเจ้าของศาสนาใดก็ตาม
คือการน้อมรับเอาทิพยานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์และสูงส่ง เข้ามาคุ้มครองดวงชะตาของเรา
การปฏิบัติต่อพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ โดยความมักง่าย ย่อมเป็นโทษที่หนัก
การปฏิบัติต่อพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ถึงเพียงนี้ โดยความมักง่าย ย่อมเป็นโทษที่หนัก
อย่างไรก็ตาม การบูชาพระเทวีไอซิส
ไม่มีอาถรรพณ์รุนแรงเหมือนเทพเจ้าอียิปต์องค์อื่นครับ
เทพไอยคุปต์ซึ่งคนทั่วโลกยุคนี้นิยมบูชากันมาก
เช่น เทพอนูบิส และ มหาเทพธอธ สามารถดลบันดาลให้เกิดเรื่องอันน่าสะพรึงกลัว
และร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ทันทีนะครับ ถ้าเราทำผิด
แต่พระเทวีไอซิส
อย่างมากที่สุดก็ทรงลงโทษเพียงให้หลาบจำ จะมากน้อยเพียงใด
ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาของเรานั่นเองเท่านั้น
และโดยมาก
ก็จะทรงปิดกั้นโอกาสที่เราจะกระทำชั่วเสียก่อนด้วยครับ
มิใช่ปล่อยให้เรากระทำชั่ว แล้วจึงทรงพิพากษา
อย่างมหาเทพธอธ และเทพอนูบิส
แต่แม้กระนั้นก็ตาม
ถ้าหากว่าทรงตักเตือนแล้ว สกัดกั้นแล้ว
ลงโทษแล้ว เรายังดื้อรั้นดันทุรัง จะทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม
พระเทวีไอซิสก็จะทรงละทิ้ง ปล่อยให้ผลกรรมตามสนองเราได้อย่างทันทีทันควัน ไม่ทรงผ่อนปรนให้อีกต่อไป
พระเทวีไอซิสก็จะทรงละทิ้ง ปล่อยให้ผลกรรมตามสนองเราได้อย่างทันทีทันควัน ไม่ทรงผ่อนปรนให้อีกต่อไป
แล้วอะไรล่ะ
คือคุณสมบัติที่จะทำให้พระองค์ทรงพอพระทัย?
หรืออะไร คือสิ่งจำเป็นที่สุด
สำหรับการบูชาพระองค์ให้ได้ผล?
คำตอบก็คือ ความเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม
มีความมั่นคงในการปฏิบัติบูชา
มีศรัทธาจริต อันดำเนินควบคู่ไปกับปัญญา
มีวิจารณญาณ ความละเอียดรอบคอบ พิถีพิถัน
สุภาพ อ่อนน้อม หมั่นขวนขวายหาความรู้ ไม่ลังเลสงสัย ไม่งมงาย
สุภาพ อ่อนน้อม หมั่นขวนขวายหาความรู้ ไม่ลังเลสงสัย ไม่งมงาย
รู้จักประมาณตน ไม่โอ้อวด ไม่หยิ่งผยอง
ไม่อหังการ ไม่ดื้อรั้นดันทุรัง และไม่ยกตนข่มท่าน
นี่เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน
ที่ใช้ได้กับเทพเจ้าในแทบทุกลัทธิศาสนาครับ
โดยเฉพาะพระเทวีไอซิส และเทพอียิปต์แทบทุกองค์
ต้องการสิ่งเหล่านี้มาก
เราชาวพุทธโชคดีกว่าศาสนาอื่นๆ
ตรงที่มีข้อบัญญัติ และแนวทางซึ่งครอบคลุมวัตรปฏิบัติเหล่านี้ไว้พร้อมมูลแล้ว
เราจึงบูชาพระเทวีไอซิส ไปพร้อมๆ
กับการบูชาพระรัตนตรัยได้ โดยไม่เสียความเป็นสัมมาศรัทธาในทางเทวะ
และขณะเดียวกัน ก็ไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน
และขณะเดียวกัน ก็ไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน
เมื่อพูดถึงศาสนาพุทธ มีหลักการที่ดีอันหนึ่ง
คือการทำบุญ แล้วอุทิศผลบุญนั้นเป็นเครื่องสักการะแด่องค์เทพที่ตนนับถือ
(ดูที่ http://shreegurudevamantra.blogspot.com/2018/06/blog-post.html)
ด้วยหลักเดียวกันนี้
บางท่านก็เกิดมีความสงสัยว่า จะทำได้หรือไม่ กับการบูชาพระเทวีไอซิส
ซึ่งเป็นเทพเจ้าในศาสนาอียิปต์โบราณ?
คำตอบก็คือ ได้ครับ
เพราะการทำบุญ พูดง่ายๆ ก็คือ การทำความดี
ทำแล้วพลังอำนาจแห่งความดีย่อมบังเกิด
พลังอำนาจแห่งความดีนี้เป็นสากล เป็นสัจธรรม
มีมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะแต่ศาสนาพุทธเท่านั้นหรอกครับ
และองค์เทพไม่ว่าในศาสนาใด
ล้วนดำรงทิพยภาวะอยู่ได้
ก็ด้วยอาศัยบารมีธรรม อันเกิดจากความดีที่ทรงสั่งสมเอาไว้ทั้งสิ้น
ดังนั้น หากผู้บูชาเป็นคนดี
พระเทวีไอซิสก็ทรงพอพระทัย
หากผู้บูชานั้น
ทำความดีภายใต้พระนามแห่งพระองค์ หรือทำความดีเพื่อเป็นการถวายสักการะ
พระองค์ยิ่งทรงพอพระทัยมาก และจะยิ่งทรงปกป้องคุ้มครองผู้นั้นไปชั่วกัลปาวสาน
แต่ต้องขอเน้นว่า ต้องเป็นการทำบุญ
หรือทำความดีทั่วๆ ไปนะครับ
...................................
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย
และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด