ศาสตร์แห่งการบูชาเทพไอยคุปต์
ในระดับที่เป็นทางการนั้น สูญหายไปกว่า 2,000 ปี
จะยังคงเหลืออยู่ก็เพียงในไม่กี่ตระกูล ที่สืบสายจากนักบวชระดับรอบนอกของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ในพื้นที่ห่างไกล และขาดการติดต่อกับโลกภายนอก ของทวีปแอฟริกา
จะยังคงเหลืออยู่ก็เพียงในไม่กี่ตระกูล ที่สืบสายจากนักบวชระดับรอบนอกของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ในพื้นที่ห่างไกล และขาดการติดต่อกับโลกภายนอก ของทวีปแอฟริกา
แต่ความชื่นชอบในโบราณคดีอียิปต์
และอิทธิพลที่ลดลงของศาสนาคริสต์ ก็ทำให้ชาวตะวันตกที่สนใจเรื่องเวทมนต์
ของชนชาติอื่นซึ่งแตกต่างจากที่พวกตนรู้จักมาแต่ก่อน (เช่นไสยศาสตร์ยิว)
เริ่มแสวงหาข้อมูล และฟื้นฟูเทวศาสตร์ไอยคุปต์กันอย่างแพร่หลาย
ซึ่งที่ผ่านมา มีอยู่หลายรูปแบบครับ
ซึ่งที่ผ่านมา มีอยู่หลายรูปแบบครับ
รูปแบบดั้งเดิมที่สุด คือกลุ่มที่เรียกกันว่า นักมายาศาสตร์
(Magician),
แม่มด (Witch) และ
วิคคา (Wicca)
คนเหล่านี้ไม่ใช่นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางเทวศาสตร์ไอยคุปต์โดยตรงหรอกครับ
พวกเขาล้วนมีชื่อเสียงขึ้นมา จากการใช้วิธีประยุกต์
ดัดแปลง และผสมผสานพิธีกรรมของอียิปต์โบราณ เข้ากับมายาศาสตร์ยิวหรือฮีบรูว์ (Hebrew)
บ้าง มายาศาสตร์ยุโรปโบราณบ้าง มายาศาสตร์กรีก-โรมันบ้าง
จนแม้แต่หยิบยืมความรู้โบราณจากโลกตะวันออก
ก็ไม่น้อย
ส่วนใหญ่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับเทววิทยาอียิปต์ออกเผยแพร่
และตั้งสำนัก หรืออาศรมขึ้นเป็นรุ่นแรกๆ ในสหรัฐอเมริกา
นับว่าต่างก็มีคุณูปการ ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกเทวศาสตร์อียิปต์
จนได้รับความนิยมแพร่หลายมาถึงทุกวันนี้ครับ จะพบได้ในตำราภาษาอังกฤษทั่วไป
แต่มักจะไม่ใกล้เคียงกับเทวศาสตร์ไอยคุปต์ดั้งเดิม
(Non
Authentic) เท่าใดนัก
เพราะว่า แต่ละท่านที่ศึกษาด้วยตนเองนั้น
ส่วนมากจะใช้ฐานความรู้เก่า คือความรู้ทางอียิปต์วิทยาในสมัย 30-60 ปีมาแล้ว
ซึ่งยังขาดความเข้าใจในทางเทววิทยา
และเทวศาสตร์อียิปต์อย่างเพียงพอ
แล้วก็เลยเลือกใช้เพียงเศษเสี้ยวของเทวศาสตร์ไอยคุปต์
ตามที่เห็นว่าเข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย และดูเป็นอียิปต์ๆ ดีเท่านั้น
แบบที่มีให้เห็นรองลงมา
คือกลุ่มผู้สนใจเทวศาสตร์ไอยคุปต์ ที่ศึกษาด้วยตนเองเช่นกัน
โดยเริ่มแรก ก็ใช้วิธีค้นคว้าหาความรู้จากตำราต่างๆ
ของนักมายาศาสตร์ประเภทแรก ที่กล่าวไปแล้วน่ะแหละครับ
แต่เนื่องจากเป็นคนรุ่นใหม่กว่า
นอกจากจะอาศัยหนังสือตำราแล้ว จึงใช้วิธีค้นจากอินเตอร์เน็ต แต่ก็หนีไม่พ้นข้อมูลจากตำราที่กล่าวไปแล้วเช่นกัน
และความสนใจของคนเหล่านี้ จะไม่ค่อยเน้นในทางวิชาการมากนัก
เนื่องจากไม่แพร่หลาย สืบค้นยาก
เมื่อศึกษาด้วยตัวเอง ตีความด้วยตัวเองแล้ว
เข้าใจอย่างไรก็ปฏิบัติไปตามนั้น
พวกนี้มีอยู่ทั่วไปในสังคมตะวันตก
ในเมืองไทยของเราก็มีอยู่มากครับ จนพูดได้ว่า ผู้ศึกษาเทววิทยาอียิปต์ในเมืองไทย แทบทั้งหมด
ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา อยู่ในประเภทนี้
ไม่ว่าจะเป็นหมอดู หรือบุคคลมีชื่อเสียง
ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ว่าเป็นผู้ที่ชื่นชอบเรื่องอียิปต์
จนรวมไปถึงสำนักไสยศาสตร์
ที่เอารูปแบบเครื่องรางอียิปต์โบราณมาผลิตขาย โดยอ้างว่า
เป็นการจัดสร้างตามศาสตร์ทางเทววิทยาจากไอยคุปต์
ที่จริงก็เป็นพวกที่ค้นคว้าด้วยตนเอง
จากหนังสือ หรืออินเตอร์เน็ตทั้งนั้นแหละครับ
และกลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มที่ได้รับการศึกษา
และการสืบทอด จากภัณฑารักษ์ (Curator) ของพิพิธภัณฑ์ระดับโลก
เช่น บริติชมิวเซียม (British Museum), พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ร์ ปารีส (Louvre) และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอียิปต์
ณ กรุงไคโร เป็นต้น
หรือไม่ก็ศึกษากับผู้เชี่ยวชาญ,
อาจารย์สอนตามมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ ที่ใช้ฐานความรู้ทางเทววิทยาและโบราณคดีอียิปต์
ซึ่งมีการ update กันอย่างสม่ำเสมอ
กลุ่มที่มีพื้นฐานทางเทวศาสตร์ไอยคุปต์ประเภทที่ว่านี้
บางคนสนใจค้นคว้าแต่เฉพาะในแง่โบราณคดี และศาสนศาสตร์ หรือพูดรวมๆ ก็คือ
ในแง่วิชาการ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์
ขณะที่บางคนค้นคว้าในแง่ ศาสตร์ลับ (Mystic)
ซึ่งจะมีการปฏิบัติ หรือ practice ในส่วนที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย
เช่น การใช้เวทมนต์ในพิธีกรรมต่างๆ
ซึ่งกลุ่มหลังนี่แหละครับ ที่มีการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการทดลองปฏิบัติ
เปรียบเทียบ และสอบค้น จากตระกูลนักไสยเวทแอฟริกัน
ที่สืบสายวิชามาจากนักบวชอียิปต์โบราณจริงๆ ที่ผมพูดถึงไปแล้วข้างต้น เท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ในยุคของเรา
(คนสุดท้ายเพิ่งถึงแก่กรรมไปเมื่อราวๆ 30 ปีมานี้)
จนแน่ใจแล้ว จึงกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติ
อย่างที่เรียกกันว่า Kemetic Reconstructionism
ซึ่งนิยมนับถือกันว่า เป็นเทวศาสตร์ไอยคุปต์
ที่ใกล้เคียงกับแบบแผนดั้งเดิม (Authentic) ที่สุด
ฝ่ายหลังนี้ละครับ ต่อมาก็ได้ตั้งสำนัก
หรืออาศรม เพื่อการเผยแพร่เทวศาสตร์ และพิธีกรรมของชาวอียิปต์โบราณโดยเฉพาะเช่นกัน
โดยมักจะใช้คำว่า Temple นำหน้าสำนัก
ซึ่งเท่าที่ได้รับการรับรอง ว่ามีแนวทางที่ได้ผลจริง
สามารถยึดเป็นมาตรฐานได้ ส่วนมากอยู่ในอังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา และไอร์แลนด์
อย่าง Rosemary Clark นักเทวศาสตร์ไอยคุปต์ระดับแถวหน้า ซึ่งเขียนตำราหลายเล่มที่วงการ Kemetic
Reconstructionism ใช้กันเป็นมาตรฐานอยู่ในปัจจุบัน สำนักของท่านมีชื่อว่า
Temple Harakhte
Rosemary Clark |
แต่เท่าที่ผมทราบนะครับ สำนัก Kemetic
Reconstructionism เช่นนี้ ไม่มีแม้แต่แห่งเดียวที่อยู่ในอียิปต์
ดังนั้น ใครก็ตามที่อ้างว่า
ไปเรียนเทวศาสตร์ไอยคุปต์มาจากอียิปต์ อย่างมากที่สุด ก็คือเรียนแค่ในภาคส่วนของ Egyptology
ซึ่งเป็นโบราณคดีสาขาหนึ่งเท่านั้นแหละครับ ไม่รู้เรื่องพิธีกรรม
หรือการใช้เวทมนต์อะไรหรอก
ซึ่งโดยธรรมเนียมนิยมแล้ว บุคคลใดก็ตาม
ที่จะได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่เชื่อถือได้ และรู้จริงในทางเทวศาสตร์อียิปต์
คุณสมบัติพื้นฐานที่สุด ก็ควรจะต้องได้รับการสั่งสอนโดยตรง
จากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสายของ Kemetic Reconstructionism ดังที่ผมกล่าวถึงไปแล้วนี้ เท่านั้นละครับ
ผู้ศึกษาเทวศาสตร์ไอยคุปต์ด้วยตนเองก็ดี
หรือศึกษาจากนักมายาศาสตร์แขนงอื่น ที่ไม่ใช่เทวศาสตร์ไอยคุปต์อย่างแท้จริง
ย่อมไม่สามารถอ้างตัวได้ว่า สิ่งที่เขานำมาใช้นั้น เป็นศาสตร์แห่งเทววิทยาอียิปต์แท้ๆ
และถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ไม่มี “ความรู้จริง” ใดๆ ที่จะทำให้สาธารณชนเชื่อถือว่า
สามารถสร้าง หรือปลุกเสกเครื่องราง และเทวรูปอียิปต์
จะเอาศาสตร์อื่น ที่เขาผู้นั้นชำนาญมาใช้แทน
ก็ใช้ไม่ได้นะครับ
เพราะว่า เทวศาสตร์ไม่ว่าสาขาใดในโลกนี้
จะต้องประกอบพิธีกรรมตามหลักของศาสตร์นั้นๆ โดยตรง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จะไปเอาศาสตร์อื่นมาใช้แทน หรือมาผสมปนเป
ไม่ได้
นี่เป็น “ความจริง” ที่มีอยู่ในเทวศาสตร์สาขาต่างๆ ในโลกนี้ มาเป็นระยะเวลาหลายพันปี
จะอ้างความวิเศษส่วนตัว หรือพลังเหนือโลกใดๆ
เพื่อจะจับแพะชนแกะกันตามอำเภอใจ ก็อ้างไปเถอะครับ คนทำคนบูชารับผิดชอบกันเอง
เพราะอาถรรพณ์อันเกิดจากการ “ผิดครู”
ทางเทวศาสตร์ไอยคุปต์ มันแก้ไม่ได้ด้วยศาสตร์แขนงอื่นครับ
รดน้ำมนต์กี่วัดก็เท่านั้น
แต่ทั้งหลายทั้งปวงที่ผมกล่าวมานี้
ความจริงก็มี “ข้อยกเว้น” อยู่บ้าง
คือ...พูดตามตรงนะครับ
ผู้ศึกษาเทวศาสตร์ไอยคุปต์ด้วยตนเอง แต่ศึกษาจากตำราของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสายของ Kemetic Reconstructionism โดยแม้จะมิได้เป็นศิษย์โดยตรง แต่มี sense ที่ทำให้สามารถเข้าถึงสารัตถะ ของเทวศาสตร์ไอยคุปต์
คือ...พูดตามตรงนะครับ
ผู้ศึกษาเทวศาสตร์ไอยคุปต์ด้วยตนเอง แต่ศึกษาจากตำราของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสายของ Kemetic Reconstructionism โดยแม้จะมิได้เป็นศิษย์โดยตรง แต่มี sense ที่ทำให้สามารถเข้าถึงสารัตถะ ของเทวศาสตร์ไอยคุปต์
จนสามารถนำมาใช้อย่างได้ผล เป็นที่ยอมรับของเทพเจ้า
และเป็นที่ประจักษ์ของวงการ
ก็มีนะครับ ไม่ใช่ไม่มี
แต่เมื่อเป็นเรื่อง “เฉพาะบุคคล” เกินไป ผมจึงแนะนำ ให้ยึดถือหลักการ หรือมาตรฐานทั่วไปไว้ก่อนครับ
หรือที่ง่ายที่สุด ก็ใช้ประสบการณ์ตรงของเรานั่นแหละ
ก็มีนะครับ ไม่ใช่ไม่มี
แต่เมื่อเป็นเรื่อง “เฉพาะบุคคล” เกินไป ผมจึงแนะนำ ให้ยึดถือหลักการ หรือมาตรฐานทั่วไปไว้ก่อนครับ
หรือที่ง่ายที่สุด ก็ใช้ประสบการณ์ตรงของเรานั่นแหละ
ใครเก่งจริงไม่เก่งจริง ก็ตัดสินกันด้วยประสบการณ์เชิงประจักษ์
แต่ถ้าจะทำอย่างนั้น ตัวเราเองก็ต้องสั่งสมความรู้ในภาคทฤษฎี ของเทวศาสตร์ไอยคุปต์ไว้มากๆ ด้วยนะครับ ถึงจะตัดสินได้อย่างเที่ยงตรง
ยิ่งได้รู้เห็นภาคปฏิบัติ จากคนที่เขาทำได้จริงมาแล้ว ยิ่งดีมากขึ้น
แต่ถ้าจะทำอย่างนั้น ตัวเราเองก็ต้องสั่งสมความรู้ในภาคทฤษฎี ของเทวศาสตร์ไอยคุปต์ไว้มากๆ ด้วยนะครับ ถึงจะตัดสินได้อย่างเที่ยงตรง
ยิ่งได้รู้เห็นภาคปฏิบัติ จากคนที่เขาทำได้จริงมาแล้ว ยิ่งดีมากขึ้น
อันที่จริงแล้ว ผมพูดตรงๆ นะครับ
เทวศาสตร์ไอยคุปต์มิได้วิเศษ หรือสูงส่งไปว่าเทวศาสตร์อินเดีย จีน
หรือยุโรปโบราณแต่อย่างใดหรอก
เพียงแต่กฎเกณฑ์ดังที่กล่าวไปแล้ว
ซึ่งมุ่งให้ยึดถือ ความเป็นศาสตร์ (Science) ตวามใกล้เคียงต้นฉบับ
(Authentic) มากกว่า บุคคล (Personality) ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปในสากลโลก
เป็นเรื่องธรรมดาที่ว่า
ของแท้ย่อมดีกว่าของเทียม หรือของที่เกิดจากการคิดเอาเองเสมอ
แต่ก็เป็นธรรมดาอีกเหมือนกันครับ
ที่ของแท้จะหาได้ยากกว่า
ของปลอมย่อมหาง่าย และมีอยู่หลายโอกาสที่ปลอมได้อย่างแนบเนียน
จนชวนให้เชื่อว่าเป็นของแท้
……………………………
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
แม้แต่ฝรั่งส่วนมาก ที่ชอบเรื่องอียิปต์ ก็คงไม่รู้กันหรอกค่ะ ว่ายังมีเทวศาสตร์อียิปต์แท้ๆ อยู่
ตอบลบก็เลยโดนของปลอมหลอกกันต่อไป
นั่นสิครับ ถ้าฝรั่งด้วยกันยังโดนหลอก ไทยเราจะไปมีอะไรเหลือ
ลบหนูเคยเจอค่ะ เป็นหมอผีแอฟริกัน แต่เหมือนพวกสิบแปดมงกุฎเลย เอาเทวรูปอียิปต์องค์เล็กๆ มาขายแถวๆ ร้านหนู แล้วบอกเสกแล้ว พอใครซื้อก็พึมพัมว่าคาถาแล้วชาร์จเพิ่ม แต่ลูกค้าหนูที่เป็นอิสลามเค้าฟังแล้วบอกว่า ที่พึมพัมน่ะภาษาอาหรับ เป็นบทขอพรองค์อัลเลาะฮ์
ตอบลบแกก็มักง่ายไปหน่อยครับ ถ้าจะเนียนว่าเสกเทวรูปอีนิปต์ เอาภาษาพื้นบ้านของแกคนยังจะฟังไม่รู้มากกว่า
ลบมุสลิมระดับชายขอบด้วย สิบแปดมงกุฎด้วย ก็มั่วหากินแบบนั้นละครับ ศาสนาอิสลามเขาห้ามบูชารูปเคารพ เพราะถือว่าตั้งตัวเป็นภาคีกับพระเจ้า นี่เอาบทขอพรองค์อัลเลสะฮ์มาเสกรูปเคารพอียิปต์